Last updated: 29 พ.ย. 2565 | 1911 จำนวนผู้เข้าชม |
บ่อติดตามตรวจสอบน้ำใต้ดิน (Monitoring Well)
บ่อติดตามตรวจสอบ เป็นบ่อน้ำที่ออกแบบและก่อสร้างเป็นการเฉพาะและติดตั้งในต้าแหน่งที่เหมาะสมเพื่อใช้เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในพื้นที่ หรือได้รับผลกระทบจากแหล่งสารปนเปื้อนอื่น โดยตัวบ่อต้องมีความแข็งแรงต่อการใช้งานและไม่เกิดปฏิกิริยากับน้ำใต้ดินที่จะเก็บ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น อันจะช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับการบำบัดและฟื้นฟูในพื้นที่ปนเปื้อนนั้นๆ
วัถตุประสงค์การติดตั้งบ่อติดตามตรวจสอบ
ใช้ติดตามตรวจสอบระดับ Head ของชั้นน้ำ (Hydraulic Head) โดยท้าหน้าที่เป็นมาตรความดันน้ำหรือเรียกว่าเป็น Piezometer
ใช้เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีหรือสารปนเปื้อน
ใช้ทดสอบคุณสมบัติของชั้นดินอุ้มน้ำ (Aquifer Test) เช่นสภาพน้าทางชลศาสตร์ (Hydraulic Conductivity) และ ค่า Yield ของชั้นดินอุ้มน้ำ (Aquifer Yield) เป็นต้น
การติดตั้งบ่อติดตามตรวจสอบ
การติดตั้งบ่อติดตามตรวจสอบควรติดตั้งอย่างน้อย 3 บ่อ โดยติดตั้งในบริเวณต้นน้ำ (Upgradient) ก่อนถึงพื้นที่ปนเปื้อน จ้านวน 1 บ่อ เพื่อเป็นบ่ออ้างอิง และบริเวณท้ายน้ำ (Downgradient) หลังจากแหล่งกำเนิด จำนวน 2 บ่อ ตามทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน โดยให้เจาะลึกถึงระดับน้ำใต้ดินชั้นแรก
องค์ประกอบบ่อติดตามตรวจสอบ
ตัวบ่อ (Well Casing หรือ Riser)
เป็นท่อกลวงที่มีการประกอบเข้ากับช่องกรอง (Well Screen) หรือมีการบากให้เป็นช่องกรองในช่วงความลึก ที่ต้องการตั้งตรงในแนวดิ่งโผล่พ้นจากพื้นดิน 0.7 - 0.8 เมตร วัสดุที่ใช้ต้องได้มาตรฐาน ASTM เช่น วัสดุ PVC ตามมาตรฐาน ASTM D1725 และ F480 และวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม SS304 และ SS316 ตามมาตรฐาน ASTM A312 เป็นต้น โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางบ่อภายใน ตั้งแต่ 2-4 นิ้ว กรณีบ่อที่ลึกน้อยกว่า 60 เมตร
ช่องกรอง (Well Screen)
ช่องกรองบางช่องกรองแนวนอนจะประกอบเข้ากับตัวบ่อที่ส่วนปลายหรือมีการบากให้เป็นช่องกรอง เพื่อให้น้ำไหลเข้าและผ่านบ่อได้ โดยความยาวของช่องกรองขึ้นกับสภาพความนำน้ำของชั้นดินและวัตถุประสงค์ของการใช้บ่อ ดังเช่นกรณีใช้ตรวจสอบระดับน้ำหรือใช้ตรวจสอบความลึกเจาะจง ช่องกรอง จะมีความยาวพียง 60 เซนติเมตร
กรณีชั้นดินอุ้มน้ำมีสภาพความนำน้ำปานกลาง (10-4-10-5 เซนติเมตร/วินาที) อาจติดตั้งช่วงติดบ่อที่ยาวมาก ขึ้นเพื่อให้น้ำไหลเข้าบ่อได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ โดยทั่วไปช่องกรองไม่ควรยาวเกิน 3 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเจือจางน้ำในบ่อ ยกเว้นค่าความนำน้ำต่ำมากที่ <10-5 เซนติเมตร/วินาที
ฝาปิดท้าย (Bottom Cap)
จะปิดที่ปลายท่อเพื่อป้องกันตะกอนและน้ำไหลเข้าจากด้านล่าง
วัสดุกรอง (Filter Peak)
กลบสูงประมาณ 1-3 เมตร ทรายหยาบตามด้วยทราย ละเอียดหนาประมาณ 0.5-1 เมตร กันเบนโทไนท์ลงมา เช่น ทรายสะอาดอัดแน่น หรือ กรวดหยาบ เป็นต้น จะบรรจุในช่องว่างระหว่างช่องกรองและหลุม เพื่อป้องกันตะกอนแขวนลอยขนาดเล็กผ่านเข้ามาในบ่อ (อาจใช้ตาข่ายละเอียดพันรอบช่องกรองก่อนขึ้นเพื่อป้องกันการอุดตันของท่อ)
ซีลรอบวง (Annular Seal)
ผสมน้ำแล้วฉีดลงหลุมประมาณ 1 เมตร ช่องว่างระหว่างตัวบ่อและหลุมที่ถัดจากวัสดุกรองขึ้นไปจะถูกซีลรอบวงด้วยวัสดุที่น้ำซึมผ่านได้ยาก เช่น เบนโทไนท์อัด เป็นต้น เพื่อป้องกันน้ำจากผิวดินอุ้มน้ำ (และสารปนเปื้อน) ไหลขึ้นลงในแนวดิ่ง
วัสดุอุด (Grout)
ช่องว่างระหว่างตัวบ่อและหลุมที่เกิดขึ้นมาจากซีลรอบวงจะถูกบรรจุด้วยวัสดุอุด(Grout) ที่แข็งตัวได้ เช่น ซีเมนต์ (95%) – เบนโทไนท์ (5%) เป็นโครงสร้างให้บ่อเสถียรภาพไม่โยกคลอนได้ง่าย และเพื่อกันน้ำผิวดินด้านบน และน้ำใต้ดินในชั้นน้ำลงมาปนเปื้อน
ฝาปิดท่อ (Well Cap)
เพื่อป้องกันการผสมหรือปนเปื้อนจากน้ำผิวดินโดยจะอยู่ภายในฝาครอบซึ่งจะมีสัญลักษณ์ให้สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนบนพื้น
Remark: รายละเอียดของการติดตั้ง Monitoring Well ดูได้ใน ASTM D 5092 Practice for Design and Installation of Ground Water Monitoring Wells in Aquifers
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
20 พ.ย. 2565
20 พ.ย. 2565
20 พ.ย. 2565